วันศุกร์ที่ 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

วันสำคัญทางศาสนาอิสลาม

                                                             วันอาชูรออ์                                                                                  
   อาชูรออ์ แปลว่า วันที่ 10 เป็นวันไว้อาลัยโศกนาฏกรรมที่เกิดขึ้นต่ออิมามฮุเซนบิน อะลีย์ บินอะบีฏอลิบ เนื่องจากถูกสังหารในสงคราม อัฏฏ็อฟ ในอิรัก เมื่อวันที่ 10 มุฮัรรอม ฮ.ศ. 61 ซึ่งตรงกับวันที่ 10 ตุลาคม ค.ศ. 680 มุสลิมในประเทศไทย มีการทำอาหารชนิดหนึ่งเรียกว่า บูโบร์อาชูรอ เป็นคำในภาษา มลายูปาตานี - กลันตัน เป็นชื่อขนมกวนชนิดหนึ่ง เป็นคำที่เพี้ยนมาจากคำว่า บูบูรอาชูรออ์ ในภาษามลายูมาตรฐานที่แปลว่า ขนมกวนวันที่สิบนั่นเอง อาชูรออ์ เป็นคำที่ยืมจากภาษาอาหรับอาชูรออ์ แปลว่าวันที่ 10 ซึ่งในอิสลามหมายถึงวันที่ 10 แห่งเดือน มุฮัรรอม แห่งปฏิทินอิสลาม ชาวมลายูในภาคใต้จะมีการทำบุญร่วมกัน โดยการทำขนมที่มีชื่อว่า บูโบซูรอ วิธีการทำก็คือ โดยการ กวนข้าว น้ำตาลมะพร้าว กล้วย ผลไม้อื่นๆ และวัตถุดิบต่างๆ ที่ชาวบ้านนำมา เอามาผสมกันในกะทะใหญ่ และช่วยกันกวนคนละไม้คนละมือ จนกระทั่งทุกอย่างเละจนกลายเป็นเนื้อเดียวกัน มีการปรุงรส ให้มีรสชาติหวาน ตัดด้วยรสเค็มนิดหน่อย จนกระทั่งว่า ได้ที่แล้วจึงตักใส่ถาดรอให้ขนมเย็นเอาไปเลี้ยงคน หรืออาจจะเก็บ ไว้กินวันต่อไปก็จะมีรสชาติอร่อยไปอีกแบบ ผู้รู้เชื่อว่าประเพณีการกวนขนมในวันนี้ เป็นประเพณีของชีอะหฺ แม้ว่า จะมีการอ้างว่ารำลึกถึงเหตุการณ์อื่นๆ ก็ตาม มุสลิมซุนนีย์บางพวกจะถือศีลอดงดอาหารในวันอาชูรออ์



การกวนขนมอาซูรออ์



ความประเสริฐของวันอาชูรออ์กับการถือศีลอด
     ได้มีฮาดีษมากมายได้รายงานถึงความประเสริฐของวันอาชูรออ์กับการถือศีลอด ซึ่งได้รับการยืนยันจากวจนะของท่านศาสดามูฮัมหมัด (ซ.ล.) โดยที่เราจะยกมากล่าวบางฮาดีษ ในหนังสือซอฮีฮัยน์ได้มีรายงานจากท่านอิบนิอับบาสว่า เขาได้ถูกถามถึงวันอาชูรออ์ ท่านอิบนิอับบาสจึงกล่าวไปว่าความว่า: ฉันไม่เคยเห็นท่านศาสดามูฮัมหมัด (ซ.ล.) สักวันที่จะให้ความประเสริฐกับวันต่างๆ นอกจากวันนี้ หมายถึงวันอาชูรออ์ และเดือนนี้ เดือนรอมมาฎอน อย่างที่เราได้กล่าวมาก่อนนี้ว่า วันอาชูรออ์นั้นมีความประเสริฐยิ่ง และมีเกียรติยิ่ง ในอดีตกาล โดยที่ท่านนบีนูฮฺ (อ.) จะทำการถือศีลอดเพื่อเป็นการขอบพระทัยต่ออัลลอฮฺ และท่านนบีมูซา (อ.) ก็ได้ทำการถือศีลอด เพื่อ เป็นการขอบพระทัยต่ออัลลอฮฺ และให้เกียรติกับวันอาชูรออ์ ยิ่งไปกว่านั้นชาวคัมภีร ์ยิวและคริสต์ ต่างก็ทำการถือศีลอดในวันอาซูรออ์ และชาวกุเรชในยุคญาฮีลียะฮฺ ก็ได้ถือศีลอดในวันอาซูรออ์เช่นกัน ท่านศาสดามูฮัมหมัด (ซ.ล.) ได้ทำการถือศีลอดในวันอาชูรอที่มักกะฮฺ และก็มิได้สั่งใช้ให้ผู้ใดทำการ ถือศีลอด ครั้นเมื่อท่านศาสดา (ซ.ล.) ได้มายังมาดีนะฮ และได้เห็นว่าชาวคัมภีรได้ถือศีลอดและให้ความ สำคัญกับวันอาชูรออ์ และท่านศาสดาจึงมีความต้องการให้มีความสอดคล้องกันกับชาว คัมภีร์ในสิ่งที่ท่านศาสดาไม่เคยสั่งใช้การ ถือศีลอดในวันอาชูรออ์ ท่านศาสดาจึง ได้ถือศีลอดและสั่งใช้ให้อัครสาวก ในวันนี้ด้วย ซึ่งได้มีรายงานในหนังสืออัซซอฮีฮัยน์ ซึ่งรายงานมาจากท่านอิบนิอับบาสว่า
ความว่า: ท่านศาสดามูฮัมหมัด (ซ.ล.) ได้ย่างก้าว เข้าสู่มาดีนะฮฺ แล้วพบว่าชาวยาฮูดีย์ (ยิว) ได้ถือศีลอดในวันอาชูรออ์ ท่านศาสดาจึงกล่าว กับพวกเขาว่า "วันนี้เป็นวันอะไรซึ่งพวกท่านได้ถือศีลอดกัน" พวกเขากล่าวว่า "วันนี้เป็นวันอันยิ่งใหญ่ที่อัลลอฮฺ ได้ทรงให้ท่านนบีมูซาและกลุ่มชนของเขารอดพ้นจาก ฟาโรห์ และเป็นวันที่อัลลอฮฺได้ทรงทำ ให้ฟาโรห์ และพรรคพวกจมน้ำ แล้วท่านนบีมูซาก็ได้ถือศีลอด ในวันนี้ เพื่อเป็นการขอบพระทัยต่ออัลลอฮฺ พวกเราจึงได้ถือศีลอดกัน ในวันนี้ด้วย ท่านศาสดาจึงได้กล่าวต่อไปว่า "แน่นอนเรามีสิทธิ์และ ดีกว่าพวกท่านเนื่องด้วยนบีมูซา" และท่านศาสดา ก็ได้ถือศีลอด และสั่งใช้ให้อัครสาวกถือศีลอดในวันอาชูรอนี้ ครั้งเมื่อการกำหนดฟัรดู การถือศีลอดในเดือนรอมมาฎอนถูกประทานลงมา ท่านศาสดา จึงได้ละทิ้งการสั่งใช้
ให้อัครสาวก ถือศีลอดในวันอาชูรออ์ และส่งเสริม ให้ถือศีลอดในวันอาซูรออ์เท่านั้น ซึ่งไม่ถือว่าเป็นเรื่อง ที่จำเป็นใดๆ แต่เป็นเพียงสุนัตเท่านั้น เพราะได้มีฮาดีษในหนังสืออัซซอฮีฮัยน์ ซึ่งรายงานมาจากท่านอิบนิอุมัรว่า

ความว่า: ท่านนบีมูฮัมหมัด (ซ.ล.) เคยถือศีลอดในวันอาชูรอ และสั่งใช้ให้อัครสาวก ถือศีลอดในวันดังกล่าวด้วย ต่อมาเมื่อการถือศีลอด รอมมาฎอนถูกำหนดให้เป็นฟัรดู ท่านนบีก็ได้ละทิ้งการสั่งใช้ให้อัครสาวกถือศีลอดในวันอาชูรออ์ และคงการถือศีลอดในวันอาชูรออ์ ได้ให้ป็นเพียงสุนัตเท่านั้น และได้มีรายงานจากท่านมูอาวียะฮฺด้วยว่า

ความว่า: รายงานจากท่านมูอาวียะฮฺ ซึ่งเขาได้กล่าวว่า ฉันได้ยินท่านศาสดามูฮัมหมัด (ซ.ล.) กล่าวว่า "วันนี้เป็น วันอาชูรออ์ โดยที่อัลลอฮฺมิได้ทรงกำหนดฟัรดูการถือศีลอดให้กับพวกท่านในสภาพที่ฉัน
ก็เป็นผู้ถือศีลอดดังนั้น ผู้ใดที่ต้องการถือศีลอดก็จงถือศีลอด และผู้ใดที่ต้องการละศีลอดก็จงละศีลอด" ซึ่งนี่ก็เป็น หลักฐานหนึ่งของการยกเลิกสิ่งที่เป็นวายิบ(จำเป็น) และคงไว้เพียงสุนัต ส่วนหนึ่งจาก ความประเสริฐของเดือนมูฮัรรอมก็คือ การถือศีลอดในวันอาชูรออ์ จะเป็นการลบล้างความผิด ในปีที่ผ่านมา ในช่วงบั้นปลายชีวิตของท่านศาสดามูฮัมหมัด (ซ.ล.)ท่านมีความตั้งใจต่อการที่ท่านจะไม่ถือศีลอด ในวันอาชูรออ์เพียงแค่วันเดียว แต่ท่านต้องการให้ผนวกวันอื่นๆ เข้าไปด้วยเพื่อไม่ให้เหมือนกับ
การถือศีลอดของชาวคัมภีร์ในวันดังกล่าว เพราะได้มีฮาดีษในหนังสือซอเฮียะมุสลิม ซึ่งรายงานมาจาก ท่านอิบนิอับบาสว่า

ความว่า :ในขณะที่ท่านศาสดามูฮัมหมัด (ซ.ล.) ถือศีลอดในวันอาชูรออ์ และสั่งใช้ให้อัครสาวกถือศีลอดในวันนั้น พวกเขา (อัครสาวก) จึงกล่าวว่า "โอ้ท่านศาสดา แน่แท้มันคือวันที่ชาวยิวและคริสต์ให้การยกย่อง" ดังนั้นท่านศาสดาจึงกล่าวว่า "ดังนั้นเมื่อปีหน้ามาถึง (อินชาอัลลอฮฺ) เราจะถือศีลอดในวันที่ 9 พร้อมกับวันที่ 10" เพื่อให้แตกต่างจากการกระทำของชาวคัมภีร์ ท่านอิบนิอับบาสได้กล่าวต่อไปว่า "ไม่ทันที่ปีกาลใหม่จะมาถึง ท่านศาสดาก็ได้เสียชีวิตไป"

ระดับการถือศีลอด มี 3 ระดับ ท่านอิบนิกอยยิมได้กล่าวไว้ในหนังสือ
          1. ระดับที่สมบูรณ์ที่สุดให้ถือศีลอด ก่อนและหลังวันอาชูรออ์ หมายถึงให้ถือศีลอดในวันที่ 9 ,10 ,11     ของเดือนมูฮัรรอม
          2. ระดับกลางให้ถือศีลอดก่อนวันอาชูรออ์หนึ่งวัน หมายถึงวันที่ 9 ของเดือนมูฮัรรอม
          3. ระดับสุดท้ายให้ถือศีลอดในวันที่ 10 เดือนมูฮัรรอมเพียงวันเดียว
และแน่นอนท่านศาสดาได้ส่งเสริมให้ประชาชาติของท่านทำความดีให้มากๆ โดยเฉพาะวันที่สำคัญ ทางศาสนา เช่น วันอาชูรออ์ เป็นต้น ถึงแม้ว่าท่านศาสดา จะไม่ได้ระบุอย่างชัดเจนนอกเหนือจาก การถือศีลอดในวันอาชูรออ์แล้ว แต่นั้นก็เป็นสิ่งยืนยันได้ว่า ท่านศาสดา ส่งเสริมให้ทำความดีในวันนั้น ไม่ว่าจะเป็นการขอพร การอ่านพระมหาคัมภีร์อัลกุรอ่าน การกล่าวซิเกร การกล่าวตักเตือนกัน การกล่าวถึงศาสดาต่างๆ ในวันนี้ก็ตาม สิ่งเหล่านี้ล้วนเป็นสิ่งที่ศาสนาอิสลามส่งเสริมให้ปฏิบัติทั้งนั้น
   ขนมอาซูรออ์

                                                                       ขนมอาซูรออ์


แหล่งที่มา

http://www.lib.ru.ac.th/journal/islamic-culture/asuru_4.html

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น