วันศุกร์ที่ 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

วันสำคัญทางศาสนาอิสลาม

                                                             วันอาชูรออ์                                                                                  
   อาชูรออ์ แปลว่า วันที่ 10 เป็นวันไว้อาลัยโศกนาฏกรรมที่เกิดขึ้นต่ออิมามฮุเซนบิน อะลีย์ บินอะบีฏอลิบ เนื่องจากถูกสังหารในสงคราม อัฏฏ็อฟ ในอิรัก เมื่อวันที่ 10 มุฮัรรอม ฮ.ศ. 61 ซึ่งตรงกับวันที่ 10 ตุลาคม ค.ศ. 680 มุสลิมในประเทศไทย มีการทำอาหารชนิดหนึ่งเรียกว่า บูโบร์อาชูรอ เป็นคำในภาษา มลายูปาตานี - กลันตัน เป็นชื่อขนมกวนชนิดหนึ่ง เป็นคำที่เพี้ยนมาจากคำว่า บูบูรอาชูรออ์ ในภาษามลายูมาตรฐานที่แปลว่า ขนมกวนวันที่สิบนั่นเอง อาชูรออ์ เป็นคำที่ยืมจากภาษาอาหรับอาชูรออ์ แปลว่าวันที่ 10 ซึ่งในอิสลามหมายถึงวันที่ 10 แห่งเดือน มุฮัรรอม แห่งปฏิทินอิสลาม ชาวมลายูในภาคใต้จะมีการทำบุญร่วมกัน โดยการทำขนมที่มีชื่อว่า บูโบซูรอ วิธีการทำก็คือ โดยการ กวนข้าว น้ำตาลมะพร้าว กล้วย ผลไม้อื่นๆ และวัตถุดิบต่างๆ ที่ชาวบ้านนำมา เอามาผสมกันในกะทะใหญ่ และช่วยกันกวนคนละไม้คนละมือ จนกระทั่งทุกอย่างเละจนกลายเป็นเนื้อเดียวกัน มีการปรุงรส ให้มีรสชาติหวาน ตัดด้วยรสเค็มนิดหน่อย จนกระทั่งว่า ได้ที่แล้วจึงตักใส่ถาดรอให้ขนมเย็นเอาไปเลี้ยงคน หรืออาจจะเก็บ ไว้กินวันต่อไปก็จะมีรสชาติอร่อยไปอีกแบบ ผู้รู้เชื่อว่าประเพณีการกวนขนมในวันนี้ เป็นประเพณีของชีอะหฺ แม้ว่า จะมีการอ้างว่ารำลึกถึงเหตุการณ์อื่นๆ ก็ตาม มุสลิมซุนนีย์บางพวกจะถือศีลอดงดอาหารในวันอาชูรออ์



การกวนขนมอาซูรออ์


วันพฤหัสบดีที่ 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

การละเล่นของไทย


ชื่อ หมากขุม
ภาค ภาคใต้
จังหวัด นครศรีธรรมราช

อุปกรณ์และวิธีการเล่น
อุปกรณ์ในการเล่น
๑). รางหมากขุม เป็นรูปเรือทำจากไม้ ยาวประมาณ ๑๓๐ เซนติเมตร กว้างประมาณ ๒๐ เซนติเมตร มีหลุมเรียงเป็น ๒ แถว หลุมกว้างประมาณ ๗ เซนติเมตร ลึกประมาณ ๔ เซนติเมตร มีด้านละ ๗ หลุม เรียกหลุมว่า เมือง หลุมที่อยู่ปลายสุดทั้งสองข้างเป็นหลุมใหญ่กว้างประมาณ ๑๑ เซนติเมตร เรียกว่า หัวเมือง
๒) ลูกหมาก นิยมใช้ลูกสวดเป็นลูกหมาก ใส่ลูกหมากหลุมละ ๗ ลูก จึงต้องใช้ลูกหมาก ในการเล่น ๙๘ ลูก
๓) ผู้เล่นมี ๒ คน


ประเพณีไทย

ประเพณีวันสารทเดือนสิบ/ชิงเปรต

ประเพณีวันสารทเดือนสิบ"วันสารทเดือนสิบ" เป็นการทำบุญกลางเดือนสิบเพื่อนำเครื่องอุปโภคและเครื่องบริโภคไปถวายพระ เป็นการอุทิศส่วนกุศลแก่บรรพบุรุษของตน

วัตถุประสงค์
เพื่ออุทิศส่วนบุญแก่บรรพบุรุษผู้ล่วงลับ ภาษาบาลีว่า "เปตชน" ภาษาชาวบ้านว่า "เปรต" ซึ่งหมายถึง ผู้ที่รับความทุกข์ทรมานจากวิบากแห่งบาปกรรมที่ทำไว้ในเมืองมนุษย์ เมื่อตายไปจึงเป็นเปรตตกนรก อดอยากยากแค้น คนข้างหลังจึงต้องทำบุญอุทิศให้ปีละครั้งเป็นการเฉพาะ

ความเชื่อ
พุทธศาสนิกชนเชื่อว่า บรรพบุรุษได้แก่ ปู่ ย่า ตา ยาย และญาติพี่น้องที่ล่วงลับไปแล้ว หากทำความดีไว้เมื่อครั้งยังมีชีวิตอยู่ จะได้ไปเปิดในสรวงสวรรค์ แต่หากทำความชั่วจะตกนรกกลายเป็นเปรต ต้องทุกข์ทรมานในอเวจี ต้องอาศัยผลบุญที่ลูกหลานอุทิศกุศลไปให้ในแต่ละปีมายังชีพ ดังนั้นในวันแรม 1 ค่ำ เดือน 10 คนบาปทั้งหลายที่เรียกว่าเปรตจึงถูกปล่อยตัวกลับมายังโลกมนุษย์ เพื่อมาขอส่วนบุญจากลูกหลาน แล้วจะกลับไปนรกในวันแรม 15 ค่ำ เดือน 10 

คุณธรรมจริยธรรม และจรรยาบรรณวิชาชีพครู

       

   การประเมินวินัย คุณธรรม จริยธรรม และจรรยาบรรณวิชาชีพครู เพื่อให้ข้าราชการครู และบุคลากรทางทางการศึกษามีและเลื่อนวิทยฐานะ(ชำนาญการพิเศษ) จะประเมินใน 6 เรื่อง ได้แก่
1.พฤติกรรมการรักษาระเบียบวินัย ได้แก่ การควบคุมการประพฤติปฏิบัติของตนเองให้อยู่ในกฎระเบียบของหน่วยงานและสังคมในกรณีมีความรับผิดชอบและซื่อตรงต่อการปฏิบัติหน้าที่ โดยยึดถือประโยชน์ที่จะเกิดขึ้นต่อส่วนรวมเป็นสำคัญ
2.การประพฤติตนเป็นแบบอย่างที่ดี ได้แก่ พฤติกรรมการปฏิบัติทั้งพฤติกรรมส่วนตนและพฤติกรรมการปฏิบ้ติงาน ทั้งในเรื่องความสามัคคีและวิถีประชาธิปไตยในการดำเนินชีวิต
3.การดำรงชีวิตอย่างเหมาะสม ได้แก่ การประพฤติปฎิบัติตนในการดำรงชีวิตที่ยึดหลักความพอเพียง การหลีกเลี่ยงอบายมุข การรู้รักสามัคคีและวิถีประชาธิปไตยในการดำเนินชีวิต
4.ความรักและศรัทธาในวิชาชีพ ได้แก่ ความพึงพอใจและอุทิศเวลาในการปฏิบัติงานในหน้าที่ด้วยความวิริยะ อุตสาหะ โดยมุ่งผลสำเร็จที่เป็นความเจริญก้าวหน้าของการจัดการศึกษา
5.ความรับผิดชอบในวิชาชีพ ได้แก่ การปฏิบัติงานในหน้าที่โดยคำนึงถึงความถูกต้อง ความซื่อสัตย์สุจริต และผลประโยชน์ของหน่วยงานและผู้รับบริการเป็นสำคัญ
6.ค่านิยม และอุดมการณ์ของความเป็นครู และบุคลากรทางการศึกษา ได้แก่ ค่านิยมพื้นฐาน 5 ประการ ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ฯลฯ